ข้อมูลโครงการวิจัย มหาวิทยาลัยราชธานี

          

ข้อมูลโครงการวิจัย
ชื่อโครงการวิจัย   ::    การศึกษาอุบัติการณ์การหกล้มของผู้สูงอายุ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
ปีงบประมาณ   ::    2557
หัวหน้าโครงการวิจัย   ::    สาลินี แนวหล้า
ผู้ร่วมโครงการวิจัย   ::    ปริญญา ผกานนท์
แหล่งเงินสนับสนุน   ::    ภายใน
งบประมาณโครงการ   ::    63000
ประเภทโครงการวิจัย   ::    พรรณนา
สาขาวิชา   ::    วิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
ผลการดำเนินงาน   ::    ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
เอกสารงานวิจัย   ::   
บทคัดย่อโครงการวิจัย   ::          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การหกล้มของผู้สูงอายุและปัจจัยภายในและภายนอกของผู้สูงอายุที่มีผลต่อการหกล้มของผู้สูงอายุ ทำการศึกษาในประชากรกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปที่อาศัยในเขตอำเภอเมืองอุบลราชธานี กำหนดขนาดตัวอย่างใช้สูตรของยามาเน่ (Yamane,1998) จำนวนตัวอย่าง 412 คน จากจำนวนผู้สูงอายุ 10,175 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยนำแบบสอบถามไปทดลองใช้ในกลุ่มผู้สูงอายุบ้านหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จำนวน 30 คน ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างก่อนดำเนินการวิจัย ทำการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม 2557 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ค่าร้อยละ และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 60 มีอายุระหว่าง 60-65 ปีร้อยละ 50.7 รองลงมาคืออายุ 70-79 ปี ร้อยละ 33.3 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 62.9 และไม่ได้ประกอบอาชีพร้อยละ 59.7 กลุ่มตัวอย่างมีประวัติหกล้มการในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 26.21 และเคยหกล้ม 2 ครั้ง ร้อยละ 71 ส่วนปัจจัยภายในด้านร่างกายของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวโดยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด รองลงมาคือเบาหวานและข้อเข่าเสื่อมและกลุ่มตัวอย่างรับประทานยาเป็นประจำร้อยละ 32 เมื่อศึกษาปัจจัยภายในด้านร่างกายของกลุ่มตัวอย่างที่เคยหกล้มพบว่าป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 11.2 รองลงมาคือเบาหวานและข้อเข่าเสื่อมและรับประทานยาเป็นประจำร้อยละ 5.3, 3.0 และ 46.3 ตามลำดับ ผลการศึกษาปัจจัยภายนอกด้านสิ่งแวดล้อมของกลุ่มตัวอย่างพบว่า หกล้มบริเวณทางเข้าบ้านมากที่สุดร้อยละ 45.4 รองลงมาคือภายในบ้านร้อยละ 39.8 การล้มส่วนใหญ่ล้มในขณะอาบน้ำร้อยละ 15.7 รองลงมาคือล้มขณะก้าวข้ามสิ่งกีดขวางร้อยละ 13.9 ลักษณะการล้มของกลุ่มตัวอย่างคือการลื่นร้อยละ 33.3 รองลงมาคือการสะดุดและสูญเสียการทรงตัว กลุ่มตัวอย่างรับการบาดเจ็บจากการล้มร้อยละ 90.7 ลักษณะการบาดเจ็บคือ ถลอก รองลงมาคือข้อมือหัก การศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่า การป้องกันอุบัติการณ์การหกล้มของผู้สูงอายุต้องปรับปรุงปัจจัยภายนอกด้านสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ ข้อเสนอจากการวิจัยครั้งนี้ควรนำผลการวิจัยไปใช้ในการวางแผนในการปรับสิ่งแวดล้อมภายในบ้านและภายนอกบ้านเพื่อป้องกันอุบัติเหตุการหกล้มของผู้สูงอายุต่อไป คำสำคัญ:อุบัติการณ์ การหกล้ม ผู้สูงอายุ
ช่วงเวลาเผยแพร่   ::    2558-07-00
หน่วยน้ำหนัก   ::    0.2