ข้อมูลโครงการวิจัย มหาวิทยาลัยราชธานี

          

ข้อมูลโครงการวิจัย
ชื่อโครงการวิจัย   ::    ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารรสเค็มของประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานี
ปีงบประมาณ   ::    2557
หัวหน้าโครงการวิจัย   ::    กาญจนา อยู่เจริญสุข
ผู้ร่วมโครงการวิจัย   ::   
แหล่งเงินสนับสนุน   ::    ภายใน
งบประมาณโครงการ   ::    90500
ประเภทโครงการวิจัย   ::    พรรณนา
สาขาวิชา   ::    วิชาการพยาบาลพื้นฐานและวิชาบริหารการพยาบาล
ผลการดำเนินงาน   ::    ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
เอกสารงานวิจัย   ::   
บทคัดย่อโครงการวิจัย   ::          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารรสเค็มและปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารรสเค็มของประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานี ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือประชาชนที่มีอายุ 35-59 ปีที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 400 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของคอนบาค(Cronbach’s Alpha Coeffcient) ทั้งฉบับ .86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารรสเค็มและปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารรสเค็มของประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานี ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือประชาชนที่มีอายุ 35-59 ปีที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 400 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของคอนบาค(Cronbach’s Alpha Coeffcient) ทั้งฉบับ .86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการบริโภคอาหารรสเค็มของประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานี อยู่ในระดับปฏิบัติบ่อยครั้ง(X=2.75) ตัวแปรพยากรณ์ที่ดีของพฤติกรรมการบริโภคอาหารรสเค็มของประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคที่เกิดจากการการบริโภคอาหารรสเค็ม การรับรู้ความรุนแรงของโรคที่เกิดจากการบริโภคอาหารรสเค็ม ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารรสเค็ม และการไม่มีโรคประจำตัว ซึ่งตัวแปรทั้ง 4 ตัวนี้สามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการบริโภคอาหารรสเค็มของประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานี ได้ร้อยละ 49 คำสำคัญ: พฤติกรรม อาหารรสเค็ม,จังหวัดอุบลราชธานี
ช่วงเวลาเผยแพร่   ::    2558-07-00
หน่วยน้ำหนัก   ::    0.2