ข้อมูลโครงการวิจัย มหาวิทยาลัยราชธานี

          

ข้อมูลโครงการวิจัย
ชื่อโครงการวิจัย   ::    ระดับความมีพฤฒิพลังของผู้ที่มีอายุ 100 ปีขึ้นไปในจังหวัดอุบลราชธานี
ปีงบประมาณ   ::    2554
หัวหน้าโครงการวิจัย   ::    จำลอง ชูโต
ผู้ร่วมโครงการวิจัย   ::    วรรณี ศิริสุนทร
แหล่งเงินสนับสนุน   ::    ภายใน
งบประมาณโครงการ   ::    12000
ประเภทโครงการวิจัย   ::    พรรณนา
สาขาวิชา   ::    วิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
ผลการดำเนินงาน   ::    ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
เอกสารงานวิจัย   ::   
บทคัดย่อโครงการวิจัย   ::           การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาระดับความมีพฤฒิพลังของผู้สูงอายุ 100 ปีขึ้นไป และเพื่อศึกษาปัจจัยที่กำหนดความมีพฤฒิพลังของผู้สูงอายุ 100 ปีขึ้นไป ประชากรได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 100 ปีขึ้นไปในจังหวัดอุบลราชธานี มีจำนวนทั้งสิ้น 37 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นการสุ่มแบบแบ่งชั้นจากทุกอำเภอ โดยกำหนดอำเภอละ 1คน รวม 15 อำเภอ จำนวน 15 คน ผู้วิจัยได้พิจารณาประเด็นจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวกับคนแล้วว่าข้อมูลส่วนบุคคลครั้งนี้เป็นข้อมูลที่ควรยกย่องเชิดชูไม่มีข้อมูลใดที่จะเป็นอันตรายและเกิดผลร้ายต่อกลุ่มตัวอย่าง อีกทั้งลักษณะโครงการครั้งนี้เป็นการสำรวจ สัมภาษณ์ และสังเกตพฤติกรรมในที่สาธารณะจึงไม่เกิดผลร้ายใดๆ ต่อกลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลจะทำการวิเคราะห์ระดับความมีพฤฒิพลังจากผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ดัชนีชี้วัดระดับพฤฒิพลัง 3 ด้าน คือ ด้านสุขภาพ ด้านการมีส่วนร่วม และด้านความมั่นคง ผลของการศึกษาพบว่าพฤฒิพลังของผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 100 ปีมีระดับพฤฒิพลังในระดับสูงเนื่องจากมีสุขภาพกายอยู่ในระดับดี สามารถช่วยเหลือตนเองได้ตามอัตภาพ จะมีก็เพียงการอ่อนแรงจากความชราเท่านั้น ยังสามารถใช้ชีวิตตามปรกติได้ทั้งเรื่องการรับประทานอาหาร การนอนหลับ การขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ส่วนสุขภาพจิตอยู่ในระดับดีมาก มีความพอใจในสภาพความเป็นอยู่ รู้สึกมีคุณค่าในตนเองเพราะลูกหลานให้ความเคารพนับถือ ให้การดูแลที่ดี สามารถเปรียบได้กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่กล่าวถึงการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ ตานความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้ 1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น 2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล 3. มีภูมิคุ้มกันในตนเอง หมายถึง การมีครอบครัวอบอุ่น มีความมั่นคงในชีวิต ลูกได้รับการเลี้ยงดูที่ดี
ช่วงเวลาเผยแพร่   ::    0000-00-00
หน่วยน้ำหนัก   ::    0.2