ข้อมูลโครงการวิจัย มหาวิทยาลัยราชธานี

          

ข้อมูลโครงการวิจัย
ชื่อโครงการวิจัย   ::    โปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อการลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในสถานศึกษาแห่งหนึ่ง ในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
ปีงบประมาณ   ::    2558
หัวหน้าโครงการวิจัย   ::    แพรวทิพฑ์ สุธีรประเสริฐ
ผู้ร่วมโครงการวิจัย   ::   
แหล่งเงินสนับสนุน   ::    ภายใน
งบประมาณโครงการ   ::    135000
ประเภทโครงการวิจัย   ::    กึ่งทดลอง
สาขาวิชา   ::    วิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน
ผลการดำเนินงาน   ::    ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
เอกสารงานวิจัย   ::    โปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อการลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในสถานศึกษาแห่งหนึ่ง ในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
บทคัดย่อโครงการวิจัย   ::          การวิจัยแบบกึ่งทดลองในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมเพื่อการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นในโรงเรียนเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมของแบนดูรา (Bandura, 1986) ร่วมกับทฤษฎีการสนับสนุนทางสังคมของแคปแพลน (Caplan, 1974) ในการพัฒนาโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจาก 2 โรงเรียนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 50 คน ผู้วิจัยทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย (Simple random sampling) เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 25 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมเพื่อการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น จำนวน 4 ครั้ง ใช้เวลาทั้งหมด 10 ชั่วโมง กลุ่มควบคุมได้รับความรู้ตามหลักสูตร การสอนปกติ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามด้วยตนเอง ก่อนและหลังการทดลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบ pair sample t–test และ independent t–test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ เจตคติ แรงสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p–value<0.05) การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสามารถช่วยพัฒนาความรู้ เจตคติ การสนับสนุนทางสังคมส่งผลให้เกิดการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศกับกลุ่มวัยรุ่นสูงขึ้น ดังนั้นสามารถประยุกต์รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาความรู้ เจตคติรวมทั้งเชื่อมโยงกับการสนับสนุนทางสังคมระหว่างครอบครัวและโรงเรียน เพื่อให้วัยรุ่นมีการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศอย่างต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น คำหลัก: วัยรุ่น / โปรแกรมการสนับสนุนทางสังคม / การป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
ช่วงเวลาเผยแพร่   ::    2559-07-00
หน่วยน้ำหนัก   ::    0.2