ข้อมูลโครงการวิจัย มหาวิทยาลัยราชธานี

          

ข้อมูลโครงการวิจัย
ชื่อโครงการวิจัย   ::    ผลการสร้างพลังอำนาจในตนเองร่วมกับกระบวนการกลุ่มในการสอนนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยราชธานี ” เพื่อรับการพิจารณาให้นำเสนอในการประชุมวิชาการและนำเสนอ ผลงานวิจัยระดับชาติ
ปีงบประมาณ   ::    2558
หัวหน้าโครงการวิจัย   ::    ปริญญา ผกานนท์
ผู้ร่วมโครงการวิจัย   ::   
แหล่งเงินสนับสนุน   ::    ภายใน
งบประมาณโครงการ   ::    88500
ประเภทโครงการวิจัย   ::    กึ่งทดลอง
สาขาวิชา   ::    วิชาการพยาบาลพื้นฐานและวิชาบริหารการพยาบาล
ผลการดำเนินงาน   ::    ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
เอกสารงานวิจัย   ::    ผลการสร้างพลังอำนาจในตนเองร่วมกับกระบวนการกลุ่มในการสอนนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยราชธานี ”
บทคัดย่อโครงการวิจัย   ::          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งเชิงทดลอง(Quasi Experimental Research) มีแบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียววัดผลสองครั้ง (One –Group Pretest Posttest Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้กระบวนการกลุ่มร่วมกับแนวคิดการสร้างพลังอำนาจในการเรียนการสอนวิชาพลวัตรกลุ่มของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชธานี ปีการศึกษา 2557ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานีจำนวน 199 คนที่เรียนวิชาพลวัตรกลุ่ม จัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการกลุ่มร่วมกับการสร้างพลังอำนาจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามร่วมกับแบบบันทึกกิจกรรมและประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียนจากผลการสอบปลายภาควิชาพลวัตรกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิง ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 95.88 อายุเฉลี่ย 19.96 ปี ผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาพลวัตรกลุ่มของนักศึกษาพยาบาลจากคะแนนเต็ม 100 คะแนน พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 68.07 (SD=1.70 Range= 11) ส่วนใหญ่มีคะแนนระหว่าง 65-69 คะแนนร้อยละ 83.50 รองลงมาคือคะแนน 70 คะแนนขึ้นไปร้อยละ 15.98 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความภาคภูมิใจในตนเองและความคาดหวังความสามารถในตนเองของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการทดลองโดยใช้สถิติ Pair t-test พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ P-value < 0.05 นอกจากนั้นยังพบว่าคะแนนเฉลี่ยความภาคภูมิใจในตนเองและความคาดหวังความสามารถในตนเองของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มตัวอย่างไม่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพลวัตรกลุ่ม การศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการกลุ่มมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านความภาคภูมิใจในตนเองและความคาดหวังความสามารถในตนเองแต่ยังไม่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ข้อเสนอแนะจากการวิจัยเห็นควรทำการศึกษาต่อโดยเพิ่มกลุ่มเปรียบเทียบ คำสำคัญ การสร้างพลังอำนาจ,กระบวนการกลุ่ม,ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา
ช่วงเวลาเผยแพร่   ::    2559-07-00
หน่วยน้ำหนัก   ::    0.2