ข้อมูลโครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชธานี
          

โครงการบริการวิชาการมหาวิทยาลัยราชธานี
ชื่อโครงการบริการวิชาการ   ::    โครงการ “รําไม้พลอง ป้องกันหกล้มสูงอายุบ้านหนองกินเพล”
ปีการศึกษา   ::    2565
หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ   ::    จารวี คณิตาภิลักษณ์
ผู้ร่วมโครงการวิจัย   ::   
แหล่งเงินสนับสนุน   ::    ภายใน
งบประมาณโครงการ   :: 20000 บาท
สถานะโครงการ   ::    ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
บูรณาการกับการเรียนการสอน   ::   
บูรณาการกับงานวิจัย   ::   
รายละเอียดเพิ่มเติม   ::        โครงสร้างด้านประชากรของประเทศไทยเข้าสู่การเป็น “สังคมสูงวัย” (Aged society) ตั้งแต่ปี2548 คือ มีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปสูงถึง ร้อยละ 10 และตามการคาดประมาณประชากรของสํานักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ในปี2564 ประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมสูงวัย อย่างสมบูรณ์” (Complete aged society) เมื่อประชากรอายุ60 ปีขึ้นไป มีสัดส่วนสูงถึง ร้อยละ 20 ของ ประชากรทั้งหมด และในปี2574 ประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” (Super aged society) เมื่อประชากรอายุ60 ปีขึ้นไปมีสัดส่วนสูงถึง ร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด ส่งผลให้ผู้สูงอายุต้องอยู่ใน ภาวะโรคเรื้อรังมากขึ้น เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคกระดูกพรุน เป็นต้น ทําให้ต้องมี การรักษาที่ต่อเนื่องและยาวนาน แต่ร่างกายที่เสื่อมลงตามอายุที่เพิ่มขึ้นอาจทําให้มีการผิดรูปของข้อต่างๆ ส่งผลให้เกิดข้อเสื่อม ทําให้มีการทรงตัว และการเคลื่อนไหวผิดปกติ ผลที่ตามมาคือ ทําให้เกิดการพลัดตกหก ล้ม ผลกระทบของการพลัดตกหกล้มส่งผลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ จากรายงานการพยากรณ์ ของสํานัก โรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ พ.ศ.2560-2564 คาด ว่าจะมีผู้สูงอายุหกล้ม ปีละ 3,030,900-5,506,000 คน ซึ่งในจํานวนนี้จะมีผู้เสียชีวิตจํานวน 5,700-10,400 คน โดยพบว่าอัตราการเสียชีวิต จากการหกล้มในผู้สูงอายุสูงกว่าทุกกลุ่มอายุถึง 3 เท่า ผู้สูงอายุเพศชาย เสียชีวิตจากการหกล้มมากกว่าเพศหญิง 3 เท่า ส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจต้องเสียค่ารักษาพยาบาล และการ ฟื้นฟูสภาพเป็นเวลานาน ด้านจิตใจ สูญเสียความมั่นใจในการทํากิจกรรม เนื่องจากเกิดการกลัวต่อการหกล้ม ซึ่งเป็นอารมณ์หนึ่งที่ไม่กล้ายืนหรือเดิน ความกลัวนี้ไม่ใช่ภาวะโรคจิตแต่อย่างใด สามารถปรับลดความกลัวได้ หากมีระดับสูงและไม่สัมพันธ์กับสิ่งที่มากระตุ้น จะเกิดเป็นโรคกลัว และ หลีกเลี่ยงการทํากิจวัตรประจําวัน