ข้อมูลโครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชธานี
          

โครงการบริการวิชาการมหาวิทยาลัยราชธานี
ชื่อโครงการบริการวิชาการ   ::    โครงการ “เด็กยุคใหม่สดใส ห่างไกลภัยบุหรี่”
ปีการศึกษา   ::    2565
หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ   ::    จิรังกูร ณัฐรังสี
ผู้ร่วมโครงการวิจัย   ::   
แหล่งเงินสนับสนุน   ::    ภายใน
งบประมาณโครงการ   :: 20000 บาท
สถานะโครงการ   ::    ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
บูรณาการกับการเรียนการสอน   ::   
บูรณาการกับงานวิจัย   ::   
รายละเอียดเพิ่มเติม   ::        การบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุสําคัญของปัญหาทางสุขภาพที่ร้ายแรง บุคลากรทาง การแพทย์และสาธารณสุข ได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างสําคัญ ในการรณรงค์เพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบ มุ่งให้มี การลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่ เนื่องจากการงดบริโภคยาสูบหรือการหยุดสูบบุหรี่ จะทําให้อัตราการเสียชีวิตจาก โรคที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ลดลงได้อย่างมีนัยสําคัญ สุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิต ของผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ได้ของสมาชิกในครอบครัว และของผู้อื่นในสังคมดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายของครอบครัวและ ประเทศชาติในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่มีสาเหตุแห่งความเจ็บป่วยมาจากการบริโภคยาสูบหรือการสูบ บุหรี่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้ความสําคัญและสนับสนุนการควบคุมการบริโภคยาสูบ หรือการเลิกสูบ บุหรี่มาอย่างต่อเนื่อง โดยจัดให้มี “วันงดสูบบุหรี่โลก” (World No Tobacco Day) ขึ้นใน วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา องค์การอนามัยโลกได้มุ่งเน้นให้ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมการบริโภคยาสูบ โดยสนับสนุนให้ บุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุขทุกสาขาอาชีพ ร่วมมือกันก่อตั้ง “เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อ สังคมไทยปลอดบุหรี่” โดยมีเป้าหมายในการร่วมมือกันรณรงค์ต่อต้านพิษภัยควันบุหรี่ จัดกิจกรรมควบคุมการ บริโภคยาสูบ และรณรงค์การลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่ เพื่อให้การต่อต้านพิษภัยควันบุหรี่ มีประสิทธิภาพ ต่อเนื่อง สัมฤทธิผล และนําไปสู่เป้าหมาย “สังคมไทยปลอดบุหรี่” ได้ในที่สุด จากข้อมูลขององค์การอนามัย โลก พบว่า แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ประมาณ 5 ล้านคน ซึ่งเทียบเท่ากับเดือนละเกือบ 11,000 คน หรือวันละ 8 คน และในบุหรี่มีสารเคมี 4,000 กว่าชนิด เช่น formaldehyde (สารเคมีที่ใช้ดองศพ) carbon monoxide (เช่นเดียวกับควันจากท่อไอเสียเครื่องยนต์) สาร acetone (สารเคมีที่ใช้ล้างเล็บ) ซึ่งสารเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นอันตรายต่อสุภาพทั้งต่อผู้สูบเองและผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากผู้ที่ได้รับ ควันบุหรี่เป็นเด็ก ก็จะยิ่งเป็นอันตรายมากขึ้น เนื่องจากเด็กยังมีภูมิต้านทางโรคค่อนข้างต่ํา และยังไม่สามารถ ป้องกันตนเองจากการได้รับควันบุหรี่จากผู้ใหญ่ได้ นอกจากนั้น งานวิจัยยังพบว่า ในแต่ละปีมีคนไทยเสียชีวิต จากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ปีละ 52,000 คน หรือชั่วโมงละ 6 คน และผู้ที่ติดบุหรี่ส่วนใหญ่ร้อยละ 90 เริ่ม สูบและติดบุหรี่ ตั้งแต่ยังอยู่ในวัยรุ่น ในช่วงอายุ 11-18 ปี โดยยังสูบต่อเนื่องไปจนอยู่ในวัยเยาวชน ในช่วงอายุ 19-25 ปี และผู้ใหญ่ตอนต้น ในช่วงอายุ 25-35 ปี จากข้อมูลสถิติชี้ให้เห็นว่า การลดจํานวนผู้สูบบุหรี่ไม่ สามารถทําได้ในประชากรทุกกลุ่ม กลุ่มที่น่าเป็นห่วงและต้องรีบดําเนินการแก้ปัญหา คือ กลุ่มเยาวชน ซึ่งเป็น อนาคตสําคัญของประเทศมีการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น คณะพยาบาลศาสตร์ ได้เห็นถึงความสําคัญในการป้องกันการสูบบุหรี่ในเด็กวัยเรียน ประกอบกับจาก การสถอบถามปัญหาภาวะสุขภาพของเด็กวัยเรียนในโรงเรียน บ้านท่าบ่อ ต.แจระแม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี พบว่าครูมีความต้องการให้ช่วยจัดกิจกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ให้กับนักเรียนในโรงเรียน โดยบูรณาการเนื้อหา กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลอนามัยโรงเรียนในการจัดโครงการ “เด็กยุคใหม่สดใส ห่างไกล ภัยบุหรี่” ขึ้น เพื่อให้นักศึกษา มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาล อนามัยโรงเรียน และเด็กวัยเรียนที่เข้าร่วมโครงการตระหนักถึงพิษภัยของบุหรี่ และรณรงค์ให้ผู้ที่กําลังสูบเลิก สูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่นั้นเป็นอันตรายต่อผู้สูบบุหรี่และผู้ที่อยู่ใกล้กับผู้สูบบุหรี่ ทั้งยังเป็นสาเหตุที่จะ นําไปสู่การติดสิ่งเสพติดอื่นๆต่อไป