ข้อมูลโครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชธานี
          

โครงการบริการวิชาการมหาวิทยาลัยราชธานี
ชื่อโครงการบริการวิชาการ   ::    ผู้สูงวัยสู้ภัยสมองเสื่อม
ปีการศึกษา   ::    2559
หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ   ::    ณัชชา ตระการจันทร์
ผู้ร่วมโครงการวิจัย   ::   
แหล่งเงินสนับสนุน   ::    ภายใน
งบประมาณโครงการ   :: 0 บาท
สถานะโครงการ   ::    ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
บูรณาการกับการเรียนการสอน   ::   
บูรณาการกับงานวิจัย   ::   
รายละเอียดเพิ่มเติม   ::         ภาวะสมองเสื่อมเป็นการเสื่อมของหน้าที่ของสมองในการเรียนรู้และเชาว์ปัญญาทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมาเช่น ผู้สูงอายุหลงลืมไม่สามารถทำสิ่งที่เคยทำได้ มีปัญหาในการใช้ภาษา เช่น พูดไม่รู้เรื่อง หรือการพูดให้ผู้อื่นฟังเข้าใจได้ยาก การวางของผิดที่ผิดทาง ทำให้อารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ง่ายและบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไป เช่น ซึมเศร้าหรืออาจจะมีบุคลิกที่กลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง ในรายที่รุนแรงมากๆอาจไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้แม้กระทั่งอาบน้ำ การเข้าห้องน้ำ จึงต้องมีผู้ดูแลตลอดเวลา ทำให้ผู้ดูแลเกิดความเครียดเพราะผู้สูงอายุไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันเองได้ จำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ผู้ดูแลต้องเสียเวลา และอาจเกิดการขาดรายได้ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมขึ้นคือความดันโลหิตสูง ไขมันในหลอดเลือดสูงและโรคเบาหวานเพราะเลือดแดงแข็งตัวทำให้ไม่สามารถไปเลี้ยงสมองอย่างเพียงพอทำให้สมองฝ่อตัวลง ความสามารถจึงถดถอยลง กระบวนการคิด ความจำ สมาธิสติปัญญาลดลง รวมทั้งการดื่มสุราและสูบบุหรี่จะทำให้โครงสร้างของสมองฝ่อลงอย่างชัดเจน แนวทางการป้องกันอาจช่วยป้องกันความเสื่อมของสมองได้ เช่น การบริหารสมอง โดยฝึกทักษะการใช้มือ เท้า และประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้สามารถรับรู้และเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ ให้ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาทและสมองส่วนต่างๆ ทำงานประสานสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ เช่น เต้นรำ รำมวยจีน ต่อจิ๊กซอว์ อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ ทำงานบ้านหรืองานอดิเรกที่ชอบ เป็นต้น ( กัมมัน พันธุจินดา.2543 ) จากการศึกษาสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุบ้านท่ากกแห่ ตำบลแจระแม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พบว่ามีประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด 45 คน (ที่มา:โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทัพไทย.2557) และได้สำรวจข้อมูลจากผู้สูงอายุจำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 46.66 ของผู้สูงอายุทั้งหมด พบว่ามีปัญหาสุขภาพดังนี้ การเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อม ( ใช้แบบประเมิน MMSE-Thai 2002, แบบประเมิน Chula mental test ) จำนวนคน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 80.95 ,การทรงตัว ( การทดสอบ Time up and go test ) จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 61.11 ,ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (ใช้แบบประเมิน ADL: Activity daily living ) จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 38.09 ) และพบว่ามีโรคประจำตัวที่พบมากที่สุดคือ โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 57.14 ,โรคเบาหวาน จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 9.52 ,โรคไขมันไขมันในเลือดสูง จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 4.76 , โรคเก๊าท์ จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 4.76 ,โรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 4.76 ,โรคกระเพาะอาหาร จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 4.76 ,โรคตับแข็ง จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 4.76 ,โรคไทรอยด์เป็นพิษ จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 4.76 จะเห็นได้ว่าผู้สูงอายุมีแนวโน้มการเกิดภาวะสมองเสื่อมมากที่สุด เนื่องจากการประเมินจากแบบประเมิน MMSE-Thai 2002 ( สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์.2557 ) พบผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมคิดเป็นร้อยละ 80.95 ของจำนวนประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด และผู้สูงอายุโดยส่วนมากมีโรคประจำตัวคือโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมเร็วขึ้น ( สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์.2557 ) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานีจึงได้จัดโครงการ ผู้สูงวัยสู้ภัยสมองเสื่อม เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รู้ถึงวิธีการป้องกันตนเองในการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้อย่างเหมาะสม