ข้อมูลโครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชธานี
          

โครงการบริการวิชาการมหาวิทยาลัยราชธานี
ชื่อโครงการบริการวิชาการ   ::    “ท่าข้องเหล็กร่วมใจ ห่างไกลความเครียด”
ปีการศึกษา   ::    2559
หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ   ::    สุจิตรา กฤติยาวรรณ
ผู้ร่วมโครงการวิจัย   ::   
แหล่งเงินสนับสนุน   ::    ภายใน
งบประมาณโครงการ   :: 0 บาท
สถานะโครงการ   ::    ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
บูรณาการกับการเรียนการสอน   ::   
บูรณาการกับงานวิจัย   ::   
รายละเอียดเพิ่มเติม   ::         ความเครียดเป็นสิ่งที่มีอยู่ในคนทุกคนความเครียดเป็นแรงกดดันทางร่างกายหรือจิตใจที่อาจเกิดจากปัจจัยทางร่างกาย เช่น เครียดจากภาวการณ์เจ็บป่วยเรื้อรัง เครียดจากปัญหาเศรษฐกิจ สารเคมีหรือสภาวะอารมณ์จนทำให้เกิดการเสียสมดุลระยะภาพของบุคคลเมื่อสะสมเป็นระยะเวลานานก่อให้เกิดเป็นปัญหาสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจได้ บุคคลจึงจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อจัดการต่อสิ่งที่คุกคามหรือกดดันให้อยู่ในระดับที่พอดีโดยวิธีการผ่อนคลายความเครียดที่หลากหลายและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อประโยชน์เป็นแรงขับในทางที่ถูกต้อง ความเครียดมักพบในประชาการกลุ่มวัยผู้สูงอายุ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวัยสูงอายุทั้งทางด้านร่างกาย เช่น ความเจ็บป่วย การเสื่อมของระบบต่างๆ ในร่างกายความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆที่ลดลง ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงบทบาททางสังคมเช่น การเกษียณอายุการทำงาน การสูญเสียบทบาทในการเป็นหัวหน้าครอบครัว การเสียชีวิตของคู่สมรสและญาติ คนใกล้ชิดหรือเพื่อน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้สูงอายุทั้งสิ้นทำให้เกิดความวิตกกังวล เศร้า ซึม และสิ้นหวังจนอาจกลายเป็นปัญหาสุขภาพจิตในที่สุด ในปัจจุบัน จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติยังพบว่า ผู้สูงอายุกว่าร้อยละ 21 มีคะแนนสุขภาพจิตต่ำกว่าคนทั่วไปหรือเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิต โดยผู้หญิงมีสัดส่วนสูงกว่าผู้ชาย (ร้อยละ24.81และ17.18 ตามลำดับ) จากรายงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพียเภ้า พบว่าบ้านท่าข้องเหล็กหมู่ 9 มีผู้สูงอายุจำนวน 80 คน และพบว่าผู้สูงอายุกลุ่มนี้เป็นโรคเรื้อรังจำนวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 56.52 ซึ่งเป็นปัจจัยส่งเสริมทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตตามมาเหตุเพราะการเจ็บป่วยเรื้อรังจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ผู้สูงอายุบางรายเกิดความเครียดหรือความกังวลใจเกี่ยวกับการคิดว่าตนเป็นภาระของบุตร หรือบางรายค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอต่อการรักษา ทำให้เกิดความวิตกกังวล เศร้า ซึม และสิ้นหวังจนกลายเป็นปัญหาสุขภาพจิตในที่สุด การฝึกสมาธิโดยการหายใจอย่างช้าช้าร่วมกับค่อยๆเคลื่อนไหวเป็นเทคนิคการเชื่อมทางด้านร่างกายและจิตใจให้เข้าหากัน เกิดกระบวนการจัดระบบการทำงานของระบบประสาทและสมองส่วนต่างๆทำให้เกิดสมาธิ พบว่า การฝึกสมาธิโดยการรำไทเก็กจึงเป็นเทคนิคหนึ่งเพื่อจะช่วยผ่อนคลายความเครียดเนื่องจากจะทำให้มีสติเกิดปัญญาและเมื่อปฏิบัติเป็นประจำจะส่งผลทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานที่ดี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี จึงได้เลือกเทคนิคการรำไทเก็กมาใช้ในการส่งเสริมสุขภาพจิตในชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม