ข้อมูลโครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชธานี
          

โครงการบริการวิชาการมหาวิทยาลัยราชธานี
ชื่อโครงการบริการวิชาการ   ::    ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในเด็กวัยเรียน
ปีการศึกษา   ::    2559
หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ   ::    มะลิวัลย์ ยามโสภา
ผู้ร่วมโครงการวิจัย   ::   
แหล่งเงินสนับสนุน   ::    ภายใน
งบประมาณโครงการ   :: 0 บาท
สถานะโครงการ   ::    ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
บูรณาการกับการเรียนการสอน   ::   
บูรณาการกับงานวิจัย   ::   
รายละเอียดเพิ่มเติม   ::        เด็กวัยเรียนเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญมากต่อการสร้างรากฐานให้มั่นคงต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต การที่เด็กจะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพได้นั้น จะต้องได้รับการเลี้ยงดูและส่งเสริมสุขภาพให้เหมาะสมกับวัย เมื่อสุขภาพดีจะส่งผลต่อการเรียนทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น ดังนั้นโรงเรียนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพของเด็กทั้งด้านองค์ความรู้จากการเรียนการสอน รวมทั้งการปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพที่ดีให้กับเด็ก เด็กวัยเรียนมีการเปลี่ยนแปลงตนเองอยู่ตลอดเวลา ปัญหาที่เกิดในเด็กวัยนี้มากที่สุดในปัจจุบันคือโรคอ้วนหรือภาวะโภชนาการเกิน จากการศึกษาพบว่าอาหารที่เด็กวัยนี้บริโภคส่วนใหญ่ เป็นอาหารที่ปรุงโดยวิธีการทอด รวมทั้งอาหารฟาสต์ฟู้ด เช่น ไก่ทอด พิซซ่า และแฮมเบอร์เกอร์ และ อาหารมื้อหลักของเด็กวัยนี้คือ อาหารมื้อเย็นและมักมีปริมาณมากกว่ามื้ออื่นๆ ทั้งนี้เนื่องจากเป็นช่วงที่เด็กมีเวลามากที่สุด นอกจากนี้อาหารว่างของเด็กวัยนี้ส่วนใหญ่ ได้แก่ ขนมกรุบกรอบ ขนมปัง ขนมหวาน น้ำแข็งใส ไอศกรีม น้ำอัดลม ซึ่งจากลักษณะพฤติกรรมดังกล่าวของเด็กวัยนี้ทำให้เด็กมีโอกาสอ้วนได้ง่าย อีกทั้งเด็กวัยนี้ยังได้รับอิทธิพลจากสื่อโฆษณาต่างๆ เช่น โทรทัศน์ โปสเตอร์ โดยใช้เด็กเป็นตัวแบบหรือดาราที่เด็กชื่นชอบซึ่งทำให้เด็กๆถูกโน้มน้าวมากขึ้นและต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล่านั้นเนื่องจาก เด็กวัยนี้มักจะถูกชักจูงง่ายจากรูปลักษณะภายนอกของอาหารที่พ่อค้าแม่ค้าทำให้ดูน่ารับประทานยิ่งขึ้น โดยที่ส่วนประกอบของอาหารเหล่านี้คือ แป้ง ไขมัน และเกลือ ซึ่งส่งเสริมให้เด็กอ้วนได้ง่ายและยังอาจเป็นสาเหตุของโรคอื่นๆ เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง เด็กวัยนี้มีความพร้อมที่จะรับรู้ รับฟัง คำแนะนำจากบุคลากรทางการพยาบาล คุณครู ผู้ปกครอง ฉะนั้นจึงสามารถให้ความรู้ คำแนะนำกับเด็กได้โดยตรง เด็กจะยอมรับและปฏิบัติตามได้มากกว่าการได้รับคำแนะนำจากบิดามารดา สำหรับเด็กวัยเรียนในช่วงชั้นที่สอง ปัจจุบันพบปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรเพิ่มมากขึ้น อาจเนื่องมาจากสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิตในสังคมจากครอบครัวขยาย กลายเป็นครอบครัวเดี่ยว อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ทำให้พ่อแม่ต้องประกอบอาชีพนอกบ้าน ส่งผลให้สภาพครอบครัวขาดความอบอุ่น เยาวชนในครอบครัวขาดการดูแลและชี้แนะในสิ่งที่เหมาะสม ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์ และวัฒนธรรมข้ามชาติ ทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า เช่น สื่อลามกในโลกอินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม ด้วยการขาดวุฒิภาวะและทักษะในการควบคุมอารมณ์ทางเพศของตนเอง เยาวชนจึงมีเพศสัมพันธ์ในเวลาที่ไม่เหมาะสม และขาดความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา อาจส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ จากการสำรวจสถิติประชากรไทย ของสำนักทะเบียนการปกครอง เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2546 มีจำนวนทั้งสิ้น 63,079,765 คน โดยแยกตามอายุ พบว่าประชากรกลุ่มวัยรุ่นมีจำนวนมากในกลุ่มอายุ 10-19 ปี มีจำนวน 9,420,575 คน โดยมีเพศหญิงจำนวน 4,602,299 คน เพศชาย 4,818,276 คน ซึ่งวัยรุ่นเป็นกลุ่มประชากรที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศชาติ เป็นระยะสำคัญที่ต้องประสบปัญหาการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม เป็นวัยหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตที่จะก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ต่อไป จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมในปัจจุบันส่งผลต่อการปรับตัวของวัยรุ่น ซึ่งอาจเกิดการเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมจากสื่อและกลุ่มเพื่อน และพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมดังกล่าวอาจจะก่อให้เกิดปัญหาทั้งของตนเองและสังคมตามมาปัญหาการปรับตัวของวัยรุ่นที่ขาดความรู้ ประสบการณ์ อาจนำไปสู่การมีพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ เช่น ปัญหาด้านอนามัยเจริญพันธุ์ เพศสัมพันธ์ การใช้สารเสพติด ปัญหาการคบเพื่อน เป็นต้น การเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาทักษะในการดูแลตนเองจะช่วยสร้างความตระหนักและปลุกจิตสำนึกให้แก่วัยรุ่น เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นที่มีผลต่อสุขภาพได้ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในเด็กวัยเรียน จึงได้จัดทำโครงการ ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในเด็กวัยเรียนขึ้น เพื่อให้เด็กวัยเรียนมีสุขภาพกาย ใจที่แข็งแรง สมบูรณ์ และมีสุขภาวะทางเพศที่เหมาะสม