ข้อมูลโครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชธานี
          

โครงการบริการวิชาการมหาวิทยาลัยราชธานี
ชื่อโครงการบริการวิชาการ   ::    โครงการ ผู้สูงวัยคูเมือง สร้างสมาธิห่างไกลโรค
ปีการศึกษา   ::    2558
หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ   ::    จริยา กฤติยาวรรณ
ผู้ร่วมโครงการวิจัย   ::    นิตยา ไสยสมบัติ
ปริญญา ผกานนท์
พ.ต.ท.หญิง วรุณีย์ สีม่วงงาม
ชลลดา มีทอง
แหล่งเงินสนับสนุน   ::    ภายใน
งบประมาณโครงการ   :: 0 บาท
สถานะโครงการ   ::    ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
บูรณาการกับการเรียนการสอน   ::   
บูรณาการกับงานวิจัย   ::   
รายละเอียดเพิ่มเติม   ::         จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศไทย พบว่าอยู่ในระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยประชากรผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีหรือมากกว่า) มีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยในปี พ.ศ.2552 ประเทศไทยมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 63,389,730 คน มีประชากรผู้สูงอายุ 6,904,598 คน คิดเป็นร้อยละ 10 ของประชากร (กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย,2552) และในปี พ.ศ.2563 คาดว่าจำนวนประชากรผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเป็น 11 ล้านคน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่กำลังนำประเทศไทยไปสู่สภาวะที่เรียกว่า “ภาวะประชากรผู้สูงอายุ” (population aging) โดยสัดส่วนของบุคคลในวัยทำงานลดลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการใช้ทรัพยากรต่างๆ ทั้งในด้านสุขภาพและสังคมจากสภาพร่างกายและความเสื่อมตามวัย ทำให้ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเรื้อรังและเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะทุพพลภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเรื้อรังหรือโรคไม่ติดต่อที่จำเป็นต้องการการดูแลบำบัดรักษาในระยะยาว โดยพบว่าสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตของผู้สูงอายุ ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง เบาหวาน โรคไต อัมพาต ปอดอักเสบ และอุบัติเหตุ ซึ่งมีสาเหตุจากพฤติกรรม สิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิต ทั้งนี้ ผู้สูงอายุยิ่งมีอายุมากขึ้นเท่าใดก็จะมีอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเตรียมการรับมือกับจำนวนประชากรสูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มประชากรผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง โดยการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รวมถึงการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลเพื่อลดภาวะโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ ตลอดจนการให้ความรู้เพื่อการป้องกันโรคซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี สอดคล้องกับมติองค์การสหประชาชาติในการสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายที่ดีและมีความมั่นคง (Active Aging) ซึ่งจะสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุได้ ประกอบด้วยปัจจัยหลัก 3 ประการคือ สุขภาพร่างกายที่ดี ความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว ชุมชน และสังคม จากปัญหาด้านสุขภาพของผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นไปพร้อม ๆ กับการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุกรมอนามัย จึงได้ดำเนินแผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 โดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือการส่งเสริมและปรับพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ มีการเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างถ้วนหน้า มีระบบบริการที่มีคุณภาพ และส่งเสริมครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ จากสถานการณ์และนโยบายดังกล่าว รศ. ดร. สมพร กันทรดุษฎี-เตรียมชัยศรี อาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้คิดค้นริเริ่มและวิจัยนวัตกรรมสาธารณสุขในการสร้างเสริมสุขภาพและการเยียวยาผู้ป่วยเรื้อรังและผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบพอเพียงโดยนวัตกรรมนี้ผสานแนวคิดและทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์จิตวิทยาสังคมศาสตร์และศาสนศาสตร์อาศัยการเชื่อมโยงของการปฏิบัติสมาธิกับการทำงานของระบบประสาทการควบคุมประสาทสัมผัสทั้ง 6 ได้แก่ตาหูจมูกลิ้นการสัมผัสและการเคลื่อนไหว คือโปรแกรม“สมาธิบำบัดแบบSKT” ประกอบด้วยท่าที่ 1 (SKT 1) “นั่งผ่อนคลายประสานกายประสานจิต” ท่าที่ 2 (SKT 2) “ยืนผ่อนคลายประสานกายประสานจิต” ท่าที่ 3 (SKT 3) “นั่งยืด-เหยียดผ่อนคลายประสานกายประสานจิต”ท่าที่ 4 (SKT 4) “ก้าวย่างอย่างไทยเยียวยากายประสานจิต” ท่าที่ 5 (SKT 5) “ยืดเหยียดอย่างไทยเยียวยากายประสานจิต” หรือท่าอัสนีบาตพิฆาตโรคภัยท่าที่ 6 (SKT 6) “เทคนิคการฝึกสมาธิการเยียวยาไทยจินตภาพ”และท่าที่ 7 (SKT 7) “เทคนิคสมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กง” การทำสมาธินั้นมีผลดีต่อการทำางานของระบบประสาทส่วนกลางระบบประสาทส่วนปลายระบบประสาทอัตโนมัติระบบอารมณ์และพฤติกรรมระบบภูมิต้านทานของร่างกายระบบไหลเวียนเลือดและระบบอื่นๆในร่างกายได้เป็นอย่างดีเนื่องจากกลไกการทำงานของร่างกายและจิตใจมีความสัมพันธ์กันโดยระบบประสาทจึงเป็นที่มาของการเกิด “โรค”หลาย ๆ ชนิด ดังนั้นถ้าเราอารมณ์แจ่มใส หรือมีความสุข ก็จะทำให้ร่างกายผ่อนคลายระบบการไหลเวียนของโลหิตทำงานดี ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง สามารถบำบัดรักษาโรคได้โดยการฝึกสมาธิ ซึ่งเป็นการรักษาระดับน้ำตาลในเลือด และ ระดับความดันโลหิตสูง ที่มีประสิทธิภาพ ประหยัดค่าใช้จ่าย และสะดวกในการฝึกสมาธิของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงนวัตกรรมสาธารณสุขที่พัฒนาขึ้นมาแบบวิถีชีวิตไทยและองค์ความรู้ปรัชญาตะวันออกบนรากฐานวิทยาศาสตร์เพื่อใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพและการเยียวยาผู้ป่วยเรื้อรังและผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบพอเพียงนี้สอดคล้องตามวิสัยทัศน์ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ตาม “แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย” เพื่อใช้เป็นกรอบชี้ทิศทางการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติการแบบบูรณาการเป็นเอกภาพทุกระดับในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่ลดความเสี่ยงของป˜ญหาสุขภาพลดภาวะแทรก«้อนลดการพิการลดการตายและลดภาระค่าใช้จ่ายในโรคเรื้อรังทั้งระดับบุคคลครอบครัวชุมชนสังคมประเทศและอาเ«ียนให้ก้าวสู่วิถีชีวิตพอเพียงสุขภาพพอเพียงระบบสุขภาพพอเพียงและสังคมสุขภาวะภายใต้สังคมที่อยู่ร่วมกันอย่างมีความผาสุก ชุมชนตำบลคูเมือง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานีมีผู้สูงอายุในตำบลคูเมืองจำนวน 999 คน เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง จำนวน175 คน คิดเป็นร้อยละ 17.52 จากการประชุมร่วมกับผู้นำชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า ชุมชนมีความต้องการองค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี จึงตระหนักถึงความจำเป็นในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ ผู้ดูแล และอสม.นสามารถดูแลสุขภาพผู้สูงอายุได้ตามศักยภาพของตนเอง เพื่อป้องกันและควบคุมโรคเรื้อรังต่างๆ อีกทั้งเพื่อให้สถาบันศาสนา โรงเรียน องค์การชุมชน องค์การภาครัฐ องค์การภาคเอกชน มีเจตคติทางบวกต่อกระบวนการแก้ปัญหาของชุมชนอย่างมีส่วนร่วม จึงเป็นโอกาสที่ชุมชนและมหาวิทยาลัยจะได้ร่วมมือ ร่วมใจ ร่วมเรียนรู้มาตรการป้องกันและแก้ปัญหาของชุมชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ด้วยการให้บริการทางวิชาการที่มีลักษณะบูรณาการพันธกิจของมหาวิทยาลัยใน กลยุทธ์ที่ ๔ ให้บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในเขตอีสานใต้และภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและอาเซียน โดยเสริมสร้างความเข้มแข็งของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะและบริการสุขภาพ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชนทุกภาคส่วน และสอดคล้องกับการประกันคุณภาพภายใน องค์ประกอบที่ ๕ การบริการวิชาการแก่สังคม คณะพยาบาลศาสตร์ จึงได้จัดทำ “โครงการผู้สูงวัยคูเมือง สร้างสมาธิห่างไกลโรค” ขึ้น