ข้อมูลโครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชธานี
          

โครงการบริการวิชาการมหาวิทยาลัยราชธานี
ชื่อโครงการบริการวิชาการ   ::    โครงการ “365 วัน ผู้สูงวัย ใส่ใจสุขภาพ”
ปีการศึกษา   ::    2558
หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ   ::    ปิยะวดี ทองโปร่ง
ผู้ร่วมโครงการวิจัย   ::    ปริญญา ผกานนท์
แพรวทิพฑ์ สุธีรประเสริฐ
อภิญญา เยาวบุตร
อรุณรัตน์ สมสุวรรณ
แหล่งเงินสนับสนุน   ::    ภายใน
งบประมาณโครงการ   :: 0 บาท
สถานะโครงการ   ::    ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
บูรณาการกับการเรียนการสอน   ::   
บูรณาการกับงานวิจัย   ::   
รายละเอียดเพิ่มเติม   ::        ปัจจุบันประชากรวัยสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2554 พบว่า ในปีดังกล่าวประเทศไทยมีผู้สูงอายุเป็นจำนวนถึง 8,266,304 คน คิดเป็นร้อยละ 12.2 เพิ่มขึ้นจาก 7,020.959 คน ในปี2550 และจะเพิ่มอย่างต่อเนื่องในอนาคต ซึ่งจากการคาดการณ์ของสหประชาชาติ จำนวนผู้สูงอายุของประเทศไทยจะมีจำนวนมากกว่า 10 ล้านคน (ประมาณร้อยละ 16) ในปี 2558 และจะมีจำนวนมากกว่า 15 ล้านคน (ประมาณร้อยละ 23) ในปี 2568 การที่จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอาจเนื่องมาจากนวัตกรรมทางการแพทย์และการสาธารณสุขมีการพัฒนามากขึ้น การตระหนักถึงคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญส่งผลให้ภาครัฐกำหนดมาตรการเตรียมการรองรับให้การดูแลผู้สูงอายุเพื่อให้ ผู้สูงอายุเหล่านั้น มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น โดยกำหนดเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ด้วยการมีแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 - 2564) เพื่อกำหนดทิศทางนโยบายยุทธศาสตร์และมาตรการต่าง ๆ ที่ใช้ดำเนินการด้านผู้สูงอายุให้ชัดเจน สะท้อนให้เห็นว่าภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับระบบการดูแลและให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุ เช่นการให้บริการด้านสุขภาพ การจัดสวัสดิการทางสังคม และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี ปัญหาผู้สูงอายุที่ควรได้รับการพิจารณาก็คือ ปัญหาด้านสุขภาพ เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุระบบการทำงานของร่างกายจะเสื่อมประสิทธิภาพลงตามวัยที่เพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม และความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง ขณะเดียวกันการที่ลักษณะครอบครัวในสังคมไทยเปลี่ยนจากครอบครัวขยายเป็นครอบครัวเดี่ยวทำให้ผู้สูงอายุถูกละเลยหรือทอดทิ้งจากบุตรหลาน ร่วมกับการเปลี่ยนบทบาทของผู้สูงอายุก็ทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ในผู้สูงอายุ เช่น ความเครียด หรือภาวะซึมเศร้าจากความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลง รองลงมาคือปัญหาด้านสังคมและเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุเป็นผู้ที่พ้นจากวัยทำงานสู่วัยเกษียณอายุ เนื่องจากสมรรถภาพทางร่างกายเสื่อมถอยลง ไม่สามารถทำงานได้ดังเดิมรายได้ลดลง ส่งผลต่อฐานะทางการเงินของผู้สูงอายุโดยส่วนใหญ่เป็นปัญหาความต้องการทางสังคมของผู้สูงอายุ ได้แก่ ความต้องการมีความรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มหรือสังคม ความต้องการการยอมรับและความเชื่อถือจากบุคคลในสังคม ความต้องการมีสัมพันธภาพกับคนอื่นๆ ปัญหาด้านครอบครัว และปัญหาด้านการพัฒนาสังคม ประเทศชาติ โดยใช้ทรัพยากรผู้สูงอายุซึ่งทวีจำนวนมากขึ้นทุกขณะ จึงควรมีการหาทางพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งด้านร่างกายจิตใจ อารมณ์ สังคม และสิ่งแวดล้อมของผู้สูงอายุให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างดีมีความมั่นคงมากขึ้น จากการสำรวจข้อมูลจากประชากรบ้านนาคำ ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พบว่าประชากรทั้งหมด 1,653 คนพบว่าในหมู่บ้านมีผู้สูงอายุมีจำนวน 204 คน (คิดเป็นร้อยละ12.48)และเมื่อสำรวจพฤติกรรมสุขภาพพบว่ามีการบริโภคอาหารไขมัน อาหารหวาน น้ำอัดลมและเครื่องดื่มชูกำลังร้อยละ 83.79 และขาดการออกกำลังกายมากถึงร้อยละ78.38คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานีตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จึงได้จัดทำโครงการ“ 365 วัน ผู้สูงวัย ใส่ใจสุขภาพ” ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุในชุมชนมีความรู้ในการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกายที่เหมาะสมและป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง รวมทั้งมีความรู้และทักษะในการดูแลตนเองที่เหมาะสมเมื่อเกิดปัญหาการปวดกระดูกและกล้ามเนื้อ