ข้อมูลโครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชธานี
          

โครงการบริการวิชาการมหาวิทยาลัยราชธานี
ชื่อโครงการบริการวิชาการ   ::    ส่งเสริมสมาธิ สร้างสติและเชาว์ปัญญา
ปีการศึกษา   ::    2557
หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ   ::    สุจิตรา กฤติยาวรรณ
ผู้ร่วมโครงการวิจัย   ::    ภาวิดา พันระกา
มะลิสา งามศรี
ภรณี แก้วลี
ณิชาภัทร มณีพันธ์
แหล่งเงินสนับสนุน   ::    ภายใน
งบประมาณโครงการ   :: 15895 บาท
สถานะโครงการ   ::    ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
บูรณาการกับการเรียนการสอน   ::   
บูรณาการกับงานวิจัย   ::   
รายละเอียดเพิ่มเติม   ::        เด็กวัยเรียนเป็นวัยแห่งการเตรียมพร้อมทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ถ้าเด็กได้รับการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุก ๆ ด้าน เด็กก็จะสามารถปรับตัวให้เข้ากับประสบการณ์ใหม่หรือสิ่งแวดล้อมใหม่ได้อย่างราบรื่น การส่งเสริมพัฒนาการทางปัญญาของเด็กก่อให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น อยากทดลอง และจะมีอิทธิพลสืบต่อไปยังพัฒนาการในด้านอารมณ์ ภาษาและสติปัญญา (พัฒนาการทางด้านสติปัญญาของ Jean Piaget, 2549) ทั้งนี้เนื่องจากช่วงอายุของเด็กในวัยเรียน 6-12 ปีนั้น ถือเป็นช่วงสำคัญของเด็กในการเรียนรู้ทักษะชีวิต และพัฒนาการต่างๆทางด้านสติปัญญา (higher cognitive functions) เป็นช่วงที่การทำงานของสมองมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและเต็มที่ ดังนั้นธรรมชาติและพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กในช่วงวัยเรียนจึงมีการเปลี่ยนแปลงและแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตที่ค่อนข้างเด่นชัดในแต่ละขวบปี ซึ่งสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้ อายุ 6 ปี สามารถมองเห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งของได้ เช่น ความแตกต่างของลวดลายต่าง ๆ เข้าใจความหมายของหน้า-หลังและบน-ล่างของตัวเด็ก แต่ไม่เข้าใจระยะใกล้หรือไกลของสถานที่ เด็กวัยนี้มีสมาธิจดจ่อกับกิจกรรมค่อนข้างสั้น สนใจการกระทำกิจกรรมต่าง ๆ แต่จะไม่สนใจความสำเร็จของกิจกรรมนั้น อายุ 7 ปี มีความอยากรู้อยากเห็น สามารถจำเหตุการณ์ที่ผ่านมาได้ มีความสนใจที่จะทำสิ่งต่าง ๆ และจะพยายามทำให้สำเร็จ รู้จักชอบหรือไม่ชอบสิ่งนั้นสิ่งนี้ มีสมาธิจดจ่อกับกิจกรรมยังค่อนข้างสั้น จะสนใจสิ่งต่างๆทีละอย่าง อายุ 8 ปี มีความอยากรู้อยากเห็น สนใจซักถามมากขึ้น ชอบทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ตนไม่เคยทำมาก่อน มีสมาธิจดจ่อกับกิจกรรมนานขึ้น มีความสนใจที่จะทำงานให้สำเร็จ มีความพิถีพิถันและรับฟังคำแนะนำในการทำงานมากขึ้น สามารถเข้าใจคำชี้แจงง่าย ๆ มีความสนใจในการเล่นต่าง ๆ สามารถแสดงละครง่าย ๆ ได้ สนใจการวาดภาพ ดูภาพยนตร์ โทรทัศน์ การ์ตูน ฟังวิทยุ และชอบนิทาน สนใจในการสะสมสิ่งของ อายุ 9 ปี เป็นวัยที่รู้จักใช้เหตุผล สามารถตอบคำถามอย่างมีเหตุผล มีความรู้ในด้านภาษา และความรู้รอบตัวกว้างขึ้น ชอบอ่านหนังสือที่กล่าวถึงข้อเท็จจริง สามารถแก้ปัญหาและรู้จักหาเหตุผลโดยอาศัยการสังเกต ในวัยนี้ต้องการอิสรภาพเพิ่มขึ้น สนใจที่จะสะสมสิ่งของ และจะเลียนแบบการกระทำต่าง ๆ ของคนอื่น อายุ 10 ปี เป็นวัยที่สมองกำลังพัฒนาเต็มที่ การเรียน การหาเหตุผล ความคิดและการแก้ปัญหาดีขึ้น สามารถตัดสินใจด้วยตนเอง และมีการไตร่ตรองก่อนตัดสินใจ ไม่ทำอย่างหุนหันพลันแล่น มีความคิดริเริ่ม เด็กชายชอบเรียนดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เด็กหญิงจะสนใจเกี่ยวกับการเรือน การสร้างมโนภาพเกี่ยวกับเวลา แม่นยำและกว้างขวางขึ้น ทำให้สามารถศึกษาประวัติศาสตร์สำคัญ วัน เดือนปี ได้ สามารถเข้าใจสิ่งต่าง ๆได้อย่างรวดเร็ว อายุ 11-12ปี วัยนี้จะมีเพื่อนวัยเดียวกัน มีการเล่นเป็นกลุ่ม บางคนจะเริ่มแสดงความสนใจในเพศตรงข้าม สนใจกีฬาที่เล่นเป็นทีม กิจกรรมกลางแจ้ง สัตว์เลี้ยง งานอดิเรก หนังสือ การ์ตูน จะมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ง่าย ๆ คิดว่าความคิดเห็นของกลุ่มเพื่อนมีความสำคัญมากกว่าความคิดเห็นของผู้ใหญ่ และจะมีความกังวล เรื่องการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ต้องการให้ผู้อื่นเข้าใจและยอมรับในการเปลี่ยนแปลงของตนด้วย(พัฒนาการทางด้านสติปัญญาของ Jean Piaget, 2549) ส่วนกิจกรรมที่จะส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาของมนุษย์มี 8 ด้าน คือ ด้านภาษา ด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านดนตรี ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านการเข้าใจตนเอง และด้านธรรมชาติวิทยา เพื่อให้สามารถอธิบายความ สามารถที่หลากหลายได้ครอบคลุมมากขึ้น(การ์ดเนอร์, 2526) ทั้งนี้จากการสำรวจความคิดและสติปัญญาในโรงเรียนบ้านคูเดื่อ จังหวัดอุบลราชธานี พบว่านักเรียนมีปัญหาดังนี้ 1. ระดับชั้นอนุบาล 1-2 ปัญหาที่พบ คือ มีพฤติกรรมก้าวร้าว พัฒนาการล่าช้า และสมาธิสั้น 2. ระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 -3 ปัญหาที่พบ คือ แยกแยะสิ่งของเป็นหมวดหมู่ไม่ได้ สะกดคำไม่ได้ บวก และลบเลขไม่ได้ 3. ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ปัญหาที่พบ คือ อ่านแล้วสรุปเนื้อหาไม่ได้ และไม่กล้าแสดงออก 4. ผลการใช้แบบคัดกรองนักเรียนที่มีภาวะสมาธิสั้น บกพร่องทางการเรียนรู้ และออทิซึม KUS-SI Rating Scales : ADHD/LD/Autism (PDDs) พบว่า นักเรียนโรงเรียนบ้านคูเดื่อมีปัญหาด้านสมาธิสั้น จำนวน 22 คน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี จึงได้จัดทำโครงการ “ส่งเสริมสมาธิ สร้างสติ และเชาว์ปัญญา” ขึ้นในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2557 ขึ้นเพื่อบูรณาการโครงการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาปฏิบัติสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชโดยนักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมในโครงการโดยนำความรู้จากรายวิชามาใช้ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งเป็นบทบาทหนึ่งของพยาบาลจิตเวชในชุมชน และเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา และส่งเสริมสุขภาพจิตแก่นักเรียนโรงเรียนบ้านคูเดื่อ จังหวัดอุบลราชธานีทุกระดับชั้น