ข้อมูลโครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชธานี
          

โครงการบริการวิชาการมหาวิทยาลัยราชธานี
ชื่อโครงการบริการวิชาการ   ::    ผ่อนใจคลายเครียด
ปีการศึกษา   ::    2557
หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ   ::    มนพัทธ์ อารัมภ์วิโรจน์
ผู้ร่วมโครงการวิจัย   ::    รุจิระชัย เมืองแก้ว
ณิชาภัทร มณีพันธ์
นิตยา จันทบุตร
อรชร บุติพันดา
แหล่งเงินสนับสนุน   ::    ภายใน
งบประมาณโครงการ   :: 14400 บาท
สถานะโครงการ   ::    ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
บูรณาการกับการเรียนการสอน   ::   
บูรณาการกับงานวิจัย   ::   
รายละเอียดเพิ่มเติม   ::        ในปัจจุบันนี้โลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ มากมาย ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี ตลอดจนการเรียนการศึกษา ทำให้เกิดความเครียดขึ้น โดยเฉพาะกับมนุษย์ทุกคนย่อมหลีกหนีความเครียดไม่พ้น บางคนเป็นมาก บางคนเป็นน้อย และเป็นได้กับทุกเพศ ทุกรุ่น ทุกวัย ทุกอาชีพ ทุกฐานะ ตั้งแต่เกิดจนตาย ซึ่งทำให้ความเครียดกลายเป็นสิ่งใกล้ตัวที่ทุกคนต้องเผชิญ ทั้งนี้เนื่องจากเราต้องอยู่ในโลกที่มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อันเนื่องมาจาการพัฒนาประเทศที่มุ่งหวังจะพัฒนาทางวัตถุ จนละเลยการพัฒนาจิตใจของคนในสังคม ความเครียด หมายถึง ปฏิกิริยาของร่างกายที่ตอบโต้ต่อสภาพแวดล้อม ร่างกายจะแสดงออกเวลามีความเครียดโดยมีความดันโลหิตสูงขึ้นกว่าปกติ ชีพจรเต้นเร็วขึ้น หายใจถี่ขึ้น หัวใจจะทำงานมากขึ้น และกล้ามเนื้อจะเกร็ง ปฏิกิริยาเหล่านี้เรียกโดยรวมว่าเป็นปฏิกิริยาของ “การสู้หรือจะถอยหนี” (กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, 2541: 3)ความเครียดมีทั้งประโยชน์และโทษ ความเครียดที่เป็นโทษเป็นความเครียดที่เกินความจำเป็นแทนที่จะเป็นประโยชน์กลับกลายเป็นอุปสรรคและอันตรายต่อชีวิตเมื่ออยู่ในภาวะตึงเครียด ร่างกายจะเกิดความเตรียมพร้อมที่จะ "สู้" หรือ "หนี" โดยที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น - หัวใจเต้นแรงและเร็วขึ้น เพื่อฉีดเลือดซึ่งจะนำออกซิเจนและสารอาหารต่างๆ ไปเลี้ยงเซลล์ทั่วร่างกาย พร้อมกับขจัดของเสียออกจากกระแสเลือดอย่างเร็ว - การหายใจดีเร็วขึ้น แต่เป็นการหายใจตื้นๆ - มีการขับอะดรีนาลีนและฮอร์โมนอื่นๆ เข้าสู่กระแสเลือด - ม่านตาขยายเพื่อให้ได้รับแสงมากขึ้น - กล้ามเนื้อหดเกร็งเพื่อเตรียมการเคลื่อนไหว เตรียมสู้หรือหนี - เส้นเลือดบริเวณอวัยวะย่อยอาหารหดตัว - เหงื่อออก เพราะมีการเผาผลาญอาหารมากขึ้น ทำให้อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มขึ้น เมื่อวิกฤตการณ์ผ่านพ้นไปร่างกายจะกลับสู่สภาวะปกติแต่ความเครียดที่เป็นอันตรายก็คือความเครียดที่เกิดขึ้นมากเกินความจำเป็น เมื่อเกิดแล้วคงอยู่เป็นประจำ ไม่ลดหรือหายไปตามปกติ หรือเกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุการณ์ที่เป็นการคุกคามจริงๆ ผลของความเครียดต่อชีวิต 1) ผลต่อสุขภาพทางกาย ได้แก่ อาการไม่สบายทางกายต่างๆ เช่น ปวดหัว ปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ความผิดปกติของหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคกระเพาะ อ่อนเพลีย หายใจไม่อิ่ม วใจเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น มือเย็นเท้าเย็น เหงื่อออก ตามมือตามเท้า หายใจตื้นและเร็วขึ้น ใจสั่น ถอนหายใจบ่อยๆ กัดขากรรไกร ขมวดคิ้ว ประสาทรับความรู้สึกหูไวตาไวขึ้น การใช้พลังงานของร่างกายเพิ่มขึ้น รู้สึกเพลีย ไมเกรน ท้องเสียหรือท้องผูก นอนไม่หลับ หรือง่วงนอนตลอดเวลา เบื่ออาหารหรือกินมากกว่าปกติ ท้องอืดเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ประจําเดือนมาไม่ปกติ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ผิวหนังเป็นผื่นคัน เป็นหวัดบ่อยๆ แพ้อากาศง่ายหอบหืดเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ 2) ผลต่อสุขภาพจิตใจ นำไปสู่ความวิตกกังวล ซึมเศร้า กลัวอย่างไร้เหตุผล อารมณ์ไม่มั่นคง เปลี่ยนแปลงง่าย หรือโรคประสาทบางอย่างหงุดหงิด สับสน คิดอะไรไม่ออก เบื่อหน่าย โมโหง่าย ซึมเศร้าสมองทํางานมากขึ้น ความคิดอ่านระยะสั้นดีขึ้น การตัดสินใจเร็วขึ้น ความจําดีขึ้น สมาธิดีขึ้น วิตกกังวล คิดมาก คิดฟุ้งซ่าน หลงลืมง่าย ไม่มีสมาธิ หงุดหงิด โกรธง่าย ใจน้อย เบื่อหน่าย ซึมเศร้า เหงา ว้าเหว่ สิ้นหวัง หมดความรู้สึกสนุกสนาน 3) ผลทางสังคม บางครั้งทะเลาะวิวาทกับคนใกล้ชิด หรือไม่พูดจากับใคร จู้จี้ขี้บ่น ชวนทะเลาะ มีเรื่องขัดแย้งกับผู้อื่นบ่อยๆ จากการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบประเมินระดับความเครียดและความสุขของคนในชุมชนบ้านทัพไทย หมู่ที่ 7 จำนวน 170 คน(สำรวจวันที่ 2 กันยายน 2557 )โดยใช้แบบวัดความเครียด และแบบประเมินดัชนีชี้วัดความสุขคนไทย พบผลการสำรวจ ดังนี้ แบบวัดความเครียด ( SPT- 20 ) ของสวนปรุงแล้วพบว่าประชาชนในชุมชนบ้านทัพไทย มีความเครียดระดับรุนแรง ร้อยละ 12.35 % มีความเครียดระดับสูง ร้อยละ 50 % มีความเครียดระดับปานกลาง ร้อยละ 42.94 % มีความเครียดระดับน้อย ร้อยละ 0.58 % แบบประเมินดัชนีชี้วัดความสุขคนไทยแล้วพบว่าประชาชนในหมู่บ้านทัพไทย มีความสุขมากกว่าคนทั่วไป ร้อยละ 21.76 % มีความสุขเท่ากับคนทั่วไป ร้อยละ 41.17% มีความสุขน้อยกว่าคนทั่วไป ร้อยละ 37.05% จากปัญหาดังกล่าวคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการ “ผ่อนใจคลายเครียด” ขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนาคนในชุมชนในด้านการสร้างเสริมสุขภาพจิต และรณรงค์ให้คนในชุมชนหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพจิตของตนเองมากกว่าการรักษาเพื่อให้มีสุขภาพจิตดี และมีการเผชิญความเครียดได้อย่างเหมาะสมต่อไป