ข้อมูลโครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชธานี
          

โครงการบริการวิชาการมหาวิทยาลัยราชธานี
ชื่อโครงการบริการวิชาการ   ::    “ส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ ลดความโกรธและพฤติกรรมก้าวร้าว”
ปีการศึกษา   ::    2557
หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ   ::    สุจิตรา กฤติยาวรรณ
ผู้ร่วมโครงการวิจัย   ::    ภาวิดา พันระกา
ภรณี แก้วลี
ณิชาภัทร มณีพันธ์
แหล่งเงินสนับสนุน   ::    ภายใน
งบประมาณโครงการ   :: 10745 บาท
สถานะโครงการ   ::    ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
บูรณาการกับการเรียนการสอน   ::   
บูรณาการกับงานวิจัย   ::   
รายละเอียดเพิ่มเติม   ::        ในสภาวะปัจจุบันที่มีความผันผวนทางสังคม และเศรษฐกิจนำไปสู่ปัญหาต่างๆที่บุคคลทุกเพศ ทุกวัยต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ บางคนหรือบางกลุ่มสามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้ด้วยการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ และแก้ปัญหาได้บ้างตามศักยภาพที่มีอยู่ ทั้งนี้ชีวิตมนุษย์ดำเนินไปภายใต้อิทธิพลของอารมณ์นั้นเป็นพลังผลักดันให้เกิดความประพฤติ(ประยูร ธม.มจิตโต 2543)ถ้าคนเรามีพัฒนาการทางอารมณ์ในทางที่ดีหรือเป็นผู้มีความฉลาดทางอารมณ์สูงผู้นั้นย่อมมีการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสมอันจะทำให้ตนเองและผู้อื่นเป็นสุข การที่จะประสบความสำเร็จในการทำงานและการดำรงชีวิตต้องประกอบด้วยความเป็นเลิศทางสติปัญญา (Intelligence Quotient) ความเชี่ยวชาญ (Expertise) และความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient) ความฉลาดทางอารมณ์จึงมีความสำคัญกับบุคคลอย่างมาก และเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยบุคคล ในการปรับตัวในการดำเนินชีวิตได้ เพราะบุคคลที่มีอารมณ์มั่นคงอยู่เสมอเป็นคนที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมการทำงานต่างๆ ด้วยความกระตือรือร้น มีชีวิตชีวา มากกว่าบุคคลที่อารมณ์เสีย โกรธหงุดหงิด มีพฤติกรรมก้าวร้าวหรือไม่มีความมั่นคงของอารมณ์ เช่น โกรธจัดจนระงับอารมณ์ไม่ได้จนขาดสติยั้งคิดหรือมีพฤติกรรมทำร้ายผู้อื่นบุคคลเหล่านี้จะปรับตัวเข้ากับสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวได้ยาก (อารี ตัณฑ์เจริญรัตน์2540) ดังนั้นบุคคลที่จะดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ต้องเป็นคนที่มีความสุขทั้งทางกายและสุขภาพจิต การที่บุคคลจะมีสุขภาพจิตที่ดีก็ควรเป็นบุคคลที่มีอารมณ์ดี เมื่อประสบปัญหาและอุปสรรคต่างๆก็สามารถใช้กลไกในการปรับตัวได้อย่างเหมาะสมเป็นที่ยอมรับของบุคคลอื่นและสังคม และสามารถรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อบุคคลอื่นได้ ซึ่งจากการที่ได้ไปสำรวจความฉลาดทางอารมณ์ของสมาชิกสถานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 12 คนที่ EQ (ความฉลาดทางอารมณ์) ในแต่ละด้านต่ำกว่าเกณฑ์ดังนี้ การควบคุมตนเอง จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 19.33 ด้านเห็นใจผู้อื่น จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 14.00 ด้านรับผิดชอบ จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 14.56 ด้านแรงจูงใจ จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 15.11 ด้านการตัดสินใจและแก้ปัญหา จำนวน1คน คิดเป็นร้อยละ 16.11 ด้านสัมพันธภาพ จำนวนมี 4 คน คิดเป็นร้อยละ 14.67 ด้านภูมิใจตนเอง จำนวนมี 5 คน คิดเป็นร้อยละ 10.88 ด้านพอใจชีวิต จำนวนมี 5 คน คิดเป็นร้อยละ 16.00 ด้านสุขสงบทางใจ จำนวนมี 3 คน คิดเป็นร้อยละ 17.44 โดยสรุปสมาชิกในสถานฟื้นฟูสมรรถภาพความพิการภาคตะวันออกเฉียงเหนือจังหวัดอุบลราชธานี มีคะแนนต่ำกว่ามาตรฐานในด้านความสามารถในการควบคุมอารมณ์มากที่สุด ทั้งนี้ประกอบกับความพิการที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง ปรับตัวอยู่ร่วมกันไม่ได้ และจัดการกับอามรณ์โกรธไม่ได้ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวขึ้น สำหรับคนพิการนั้นอาจกล่าวได้ว่ามีโอกาสที่จะเกิดอารมณ์รุนแรง หรือพฤติกรรมก้าวร้าวได้มากกว่าคนที่ไม่มีความพิการ เนื่องจากสภาพร่างกายและสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการใช้ชีวิตหรือแม้แต่ความคิดของคนพิการเอง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี ได้เล็งเห็นความสำคัญของพฤติกรรมที่แสดงออกสื่อถึงความก้าวร้าว และความฉลาดทางอารมณ์ของคนพิการในสถานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงได้จัดทำโครงการ “ส่งเสริม ความฉลาดทางอารมณ์ ลดความโกรธ และพฤติกรรมก้าวร้าว” ขึ้นในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ.2557 เพื่อบูรณาการโครงการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาปฏิบัติสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชโดยนักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมในโครงการโดยนำความรู้จากรายวิชามาใช้ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งเป็นบทบาทหนึ่งของพยาบาลจิตเวชในชุมชน และเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของผู้เข้าร่วมโครงการ ลดปัญหาทางด้านพฤติกรรมที่ก้าวร้าว และให้ผู้เข้าร่วมโครงการเลือกใช้วิธีการจัดการกับอารมณ์โกรธได้อย่างเหมาะสม นำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน อันจะส่งผลดีต่อสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตของสมาชิกสถานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการต่อไป วัตถุประสงค์ของโครงการ 1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทราบถึงสาเหตุ อาการ และวิธีการจัดการอารมณ์โกรธและพฤติกรรม ก้าวร้าว 2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน เรื่องจัดการอารมณ์โกรธและพฤติกรรมก้าวร้าว 3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความเข้าใจในตนเอง เข้าใจผู้อื่น และสามารถแก้ไขความขัดแย้งทางอารมณ์ได้ 4. เพื่อสร้างความเพลิดเพลินสนุกสนานแก่ผู้ร่วมโครงการ