ข้อมูลโครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชธานี
          

โครงการบริการวิชาการมหาวิทยาลัยราชธานี
ชื่อโครงการบริการวิชาการ   ::    โครงการ สูงวัยอย่างมีคุณค่า นำพาสุขภาวะที่ยั่งยืน
ปีการศึกษา   ::    2557
หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ   ::    ณัชชา ตระการจันทร์
ผู้ร่วมโครงการวิจัย   ::    รุจิระชัย เมืองแก้ว
ลลิดา ปักเขมายัง
นิตยา จันทบุตร
อรชร บุติพันดา
แหล่งเงินสนับสนุน   ::    ภายใน
งบประมาณโครงการ   :: 4100 บาท
สถานะโครงการ   ::    ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
บูรณาการกับการเรียนการสอน   ::   
บูรณาการกับงานวิจัย   ::   
รายละเอียดเพิ่มเติม   ::        ปัจจุบันประเทศไทยมีการเพิ่มของประชากรสูงอายุรวดเร็ว เนื่องจากประชากรมีอายุยืนยาวมากขึ้น และอายุขัยเฉลี่ยของประชากรเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้เป็นผลจากอัตราการตายลดลง จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านการแพทย์ และสาธารณสุข โดยพบว่าจำนวนประชากรสูงอายุ 60ปีขึ้นไปในปี พ.ศ. 2550 มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นเป็น1.56 พันล้านคน ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การมีประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นและมีอายุยืนยาวขึ้น ส่งผลให้โครงสร้างประชากรของประเทศเปลี่ยนแปลงไป คืออัตราส่วนผู้สูงอายุที่เป็นภาระเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่อัตราส่วนและจำนวนประชากรวัยแรงงานเริ่มลดลง ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจสวนรวมต่อการออมและการลงทุน ทำให้ผู้สูงอายุต้องเสี่ยงต่อการถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพังมากขึ้น เพราะประชากรวัยแรงงานส่วนหนึ่งต้องย้ายถิ่นเพื่อประกอบอาชีพ ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้บุตรหลานมีเวลาเอาใจใส่ผู้สูงอายุน้อยลง ผู้สูงอายุจึงต้องรับผิดชอบตนเองมากขึ้น เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ วัยสูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม การเปลี่ยนแปลงด้านรร่างกายอันเป็นผลมาจากความเสื่อมและความสามารถในการทำหน้าที่ลดลง ก่อให้เกิดปัญหาด้านต่างๆตามมา เช่นการเปลี่ยนแปลงของระบบกล้ามเนื้อ และโครงกระดูกพบว่ากล้ามเนื้อเหี่ยวกระดูกมีความแข็งแรงลดลงเนื่องจากการสูญเสียเนื้อกระดูก ทำให้กระดูกเปราะและหักง่ายแต่ติดช้าบางคนอาจมีหลังโก่งทำให้การเคลื่อนไหวเชื่องช้า ไม่กระฉับกระเฉง และการทรงตัวไม่ดี อาจทำให้เกิดอุบัติได้ง่าย การเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทสัมผัสพบว่า ความสามารถในการมองเห็น การได้ยินลดลงทำให้มีความบกพร่องในการติดต่อสื่อสาร การรับรู้กลิ่นและรสลดลง เมื่อร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินอาหาร ที่มีการย่อยและการดูดซึมไม่ดีเกิดอาการท้องอืด แน่นท้องและอาจจะรู้สึกเบื่ออาหาร ทำให้แบบแผนการรับประทานอาหารเสียไป เกิดการบริโภคที่ไม่ถูกสัดส่วน เกิดภาวะบริโภคเกินหรือขาดสารอาหารได้ การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายประกอบกับวัยสูงอายุต้องเผชิญกับเปลี่ยนแปลงหน้าที่การงาน ส่งผลให้รายได้และความภาคภูมิใจในตนเองลดลงด้วย และเมื่อมีการสูญเสียคู่สมรสหรือเพื่อนฝูงที่ใกล้ชิด จะทำให้รู้สึกท้อแท้ หมดหวัง บุคลิกภาพเปลี่ยนไปจะรู้สึกน้อยใจ อ่อนไหวง่าย วิตกกังวล รู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย และต้องการการพึ่งพามากขึ้น รู้สึกขาดความอบอุ่นก่อให้เกิดความเครียด ส่งผลให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงได้ เช่นซึมเศร้า แยกตัวจากสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในผู้สูงอายุ เป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งในครอบครัว และสังคม การเปลี่ยนแปลงในครอบครัวนั้นจะพบว่าผู้สูงอายุจะลดบทบาทลง เช่นจากการเป็นหัวหน้าครอบครัวกลับเป็นผู้ที่ต้องได้รับการเลี้ยงดูจากบุตรหลาน และบางคนอาจจะถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพัง และจากการเปลี่ยนแปลงสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรมทำให้ผู้สูงอายุบางคนต้องเปลี่ยนแปลงการประกอบอาชีพ อีกทั้งการเกษียณอายุราชการจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีบทบาทและการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมลดน้อยลง เกิดการพึ่งพิงทั้งด้านกิจวัตรประจำวันตลอดจนกิจกรรมที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต ส่งผลกระทบด้านจิตใจของผู้สูงอายุได้ ผลจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสังคมจะส่งผลกระทบถึงกันและกันเป็นวงจรไม่รู้จบ มีผลให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุลดลง ดังนั้นแนวทางในการดูแลผู้สูงอายุก็คือ การช่วยเหลือให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขและพึงพอใจสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม ช่วยเหลือตนเองได้ตามอัตภาพ ไม่เป็นภาระให้แก่ผู้อื่นและดำรงไว้ซึ่งการมีคุณค่าในตนเองซึ่งหมายถึงการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีนั่นเองซึ่งจากผลการวิจัย เรื่อง “พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี” พบว่าระดับของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก แสดงให้เห็นถึงการใสใจสุขภาพเป็นอย่างดี จึงควรมีการจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุคงพฤติกรรมสุขภาพที่ดีอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองและมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว จากการสำรวจข้อมูลของ หมู่ 1 บ้านขามใหญ่ ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า กลุ่มประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีทั้งหมด 116 คน ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุดังกล่าวมีโรคประจำตัวเรื้อรังจำนวนมากดังนี้ โรคความดันโลหิตสูง 18 คน โรคเบาหวานร่วมกับความดันโลหิตสูง 17 คน โรคเบาหวาน 10 คน โรคข้อเข่าเสื่อม 4 คน โรคหอบ 1 คน โรควัณโรคปอด 1 คน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี ได้ตระหนักถึงปัญหาด้านสุขภาพและการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ จึงมีการจัดโครงการ ‘‘ สูงวัยอย่างมีคุณค่า นำพาสุขภาวะที่ยั่งยืน” เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ ในการปฏิบัติตัว เพื่อป้องกันโรคเรื้อรัง และฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจของตนเองที่บ้านได้อย่างมีคุณภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก การออกกำลังกายห่างไกลโรคเรื้อรั้ง การรับประทานยา และการนำสมุนไพรพื้นบ้านมาใช้ในการประกอบอาหาร ในการดำเนินโครงการ มีกิจกรรมที่เน้นแนวทางการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง และการจัดกิจกรรมเรียนรู้การดูแลสุขภาพองค์รวม โดยมีทั้งเจ้าของสุขภาพและญาติในครอบครัวที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ ทั้งในด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และพฤติกรรมการออกกำลังกาย โดยมีทีมอสม.คอยติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทั้งด้าน โภชนาการ และการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ ตลอดทั้งเป็นการสร้างขวัญ และกำลังใจให้ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า ร่วมถึงเป็นการสร้างจิตสำนึกและปลูกฝังให้คนรุ่นหลังได้มีทัศนคติที่ดีและเห็นคุณค่าของผู้สูงอายุในชุมชนโดยการ ให้ความใส่ใจ ห่วงใย กลุ่มผู้สูงอายุ อย่างต่อเนื่อง