ข้อมูลโครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชธานี
          

โครงการบริการวิชาการมหาวิทยาลัยราชธานี
ชื่อโครงการบริการวิชาการ   ::    โครงการส่งเสริมผู้สูงวัย ใส่ใจข้อเข่า
ปีการศึกษา   ::    2557
หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ   ::    สุจิตรา กฤติยาวรรณ
ผู้ร่วมโครงการวิจัย   ::    รุจิระชัย เมืองแก้ว
ณัชชา ตระการจันทร์
ลลิดา ปักเขมายัง
อรชร บุติพันดา
แหล่งเงินสนับสนุน   ::    ภายใน
งบประมาณโครงการ   :: 1560 บาท
สถานะโครงการ   ::    ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
บูรณาการกับการเรียนการสอน   ::   
บูรณาการกับงานวิจัย   ::   
รายละเอียดเพิ่มเติม   ::        ข้อเข่าเสื่อม หรือโรคข้อเข่าเสื่อม เป็นภาวะที่ข้อเข่าผ่านการใช้งานมาเป็นเวลานานเกิดการเปลี่ยนแปลงของข้อเข่าโดยเฉพาะบริเวณกระดูกอ่อนผิวข้อ เยื่อบุข้อ และเยื่อหุ้มข้อ (ธงชัย แก้วสียา, 2548 ) ในระยะแรกของข้อเสื่อมพบว่ากระดูกจะมีสีเหลืองขุ่นบางส่วนมีลักษณะอ่อนนิ่ม (กัลยา จิระนคร, 2547) มีการแตกของผิวกระดูกอ่อนผิวข้อจนเกิดร่องตื้นขึ้น เมื่อมีการดำเนินของโรคเป็นระยะเวลานานร่องของกระดูกผิวอ่อนข้อจะมีความลึกและบางลง อาจเกิดกระดูกเปราะ หักง่ายและมีเศษของกระดูกอ่อนหลุดออกมาในช่องข้อเข่า ทำให้ระยะห่างระหว่างข้อแคบลง เมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อเข่าจึงเกิดการเสียดสีกันของผิวข้อต่อและมีการรบกวนปลายประสาทรับความรู้สึกที่มาเลี้ยงบริเวณข้อต่อ จึงทำให้เกิดอาการปวดเข่า นอกจากนี้ความยาวของกระดูกสันหลังก็จะลดลง เพราะหมอนรองกระดูกบางลง กระดูกสันหลังผุมากขึ้นทำให้หลังค่อม หรือหลังค่อมเอียงมากขึ้น บริเวณข้อจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่รูปร่างและส่วนประกอบ ข้อใหญ่ขึ้น กระดูกอ่อนบริเวณข้อต่างๆบางลงและเสื่อมมากขึ้นตามอายุ น้ำไขข้อลดลง เป็นเหตุให้กระดูกเคลื่อนที่มาสัมผัสกัน จึงได้ยินเสียงกรอบแกรบขณะเคลื่อนไหว เกิดการเสื่อมของข้อ การเคลื่อนไหวข้อต่างๆ ไม่สะดวกเกิดการติดแข็ง ข้ออักเสบและติดเชื้อได้ง่าย ทำให้มีอาการปวดตามข้อ ข้อที่พบว่ามีการเสื่อมได้บ่อย คือ ข้อเข่า ข้อสะโพก และข้อกระดูกสันหลัง(นิภาพร ทองหลอม , 2550 ) จากสถิติของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมพบประมาณ 1 ใน 3 หรือคิดเป็นร้อยละ 34.5-45.6 ของประชากรทั้งประเทศ โดยส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันพบเร็วขึ้นอายุประมาณ 45-50 ปี เนื่องจากมีปัจจัยส่งเสริม เช่น ภาวะอ้วน ทำให้ข้อเข่าแบกรับน้ำหนักเกิน หรือการนั่งยอง ๆ นั่งพับเพียบ ซึ่งมีผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดเข่า อาการข้อเข่าฝืดแข็ง และมีความพิการของข้อเข่าเกิดการเปลี่ยนแปลงของภาพลักษณ์ ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมให้หายขาดได้ แต่สามารถลดอาการปวดได้ โดยการใช้ยาและไม่ใช้ยา เช่น การให้ความรู้เรื่องข้อเข่าเสื่อม การออกกำลังกายและการบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่า การใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยต่างๆ การลดน้ำหนัก (วิไล.2557.) จากสำรวจข้อมูลเบื้องต้น สมาชิกชมรมผู้สูงอายุวัดหนองบัวพบว่าปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหา โรคข้อเข่าเสื่อมโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี จึงเล็งเห็นความสำคัญเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก ลดอาการปวดเข่าที่ผู้สูงอายุประสบปัญหาในระยะยาว จึงได้จัดทำโครงการ “ส่งเสริมผู้สูงวัย ใส่ใจข้อเข่า” ขึ้นเพื่อให้ความรู้การป้องกันการเกิดข้อเข่าเสื่อมและการปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง